วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2559
เวลา 13.30-17.30 น.






เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
               อาจารย์ใช้การสอนแบบสร้างสถานการณ์ อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาแจกแบบ 1 ต่อ 1 แล้วเกิดปัญหากระดาษไม่พอ คนมากกว่ากระดาษ  เกิดการเปรียบเที่ยบในการหาค่าคำนวณ คนมากกว่ากระดาษแสดงว่ากระดาษน้อยกว่าคน แล้วต้องทำอย่างไรให้กระดาษเท่ากับคน ก็ต้องหาส่วนที่ขาดมาเติม โดยนับจำนวนคนที่ยังไม่ได้กระดาษ ซึ่งขาดอยู่ 8 คน ก็นำกระดาษมาเติมให้อีก 8 แผ่น ก็จึงครบกับจำนวนคน  เมื่อทุกคนได้กระดาษครบแล้วอาจารย์ได้ให้หัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วแตกหัวข้อย่อยทำเป็น Mind Mapping มี 3 หัวข้อย่อย  1. การจัดประสบการณ์    2. คณิตศาสตร์    3. เด็กปฐมวัย พร้อมอธิบายหัวข้อที่จะต้องแตกออกไป  มีทฤษฎี ความหมาย หลักการ แนวทาง การเรียนรู้ เป็นต้น  และอาจารย์สั่งให้ทำงานสรุปเนื้อหาลงในบล็อกให้เสร็จส่งภายในวันศุกร์ก่อน 23.00 น.ตามหัวที่ได้รับ ของดิฉันได้หัวข้อ บทความทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้รับ
   - ทักษะการเเก้ปัญหา
   - ทักษะการสร้างสถานการณ์
   - ทักษะการวิเคราห์เเตกประเด็น และสรุปเนื้อหา

การนำมาประยุกต์ใช้
                 สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การเเจกนม การเเจกถาดอาหาร การเเจกอุประกรณ์การเรียน ให้เด็กเป็นคนนับจำนวนคนและทำหน้าที่เเจกเพื่อนๆ สลับเวรกันไป เป็นต้น จะช่วยพัฒนาในด้านสติปัญญาและรู้จักเเก้ปัญหาในการทำกิจกรรม และยังเสริม
คณิตศาสตร์ไปในตัวเมื่อเด็กได้ทำในสถานการณ์จริงเด็กจะเก่งมากขึ้น 

บรรยากาศในห้องเรียน
                บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนรู้ เพื่อนๆนักศึกษาทุกคนตั้งใจฟัง มีการเเสดงความคิดเห็นร่วมตลอด การเรียนการสอนไม่ตรึงเครียด สบายๆ ทำให้เราตั้งใจเรียนเละเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น

ประเมินวิธีการสอน
               การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด ตอบผิดตอบถูกไม่อาจารย์จะไม่ดุ ถ้าตอบผิดอาจารย์จะอธิบายให้ถูกต้องให้นักศึกษาเข้าใจ เจาะลึกในเนื้อหาทุกประเด็นให้เข้าใจง่ายขึ้น

คุณธรรมจริยธรรม
 -  ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์สอน
 - ไม่เสียมารยาทพูดคุยขณะที่อาจารย์สอน 
 -  รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายส่งให้ทันตามเวลาที่กำหนด

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ไม่พูดคุย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม 
เพื่อน:         ตั้งใจฟัง ไม่พูดคุยขณะที่อาจารย์สอนเเละช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน:   แต่งกายสุภาพ อธิบายเข้าใจ พูดเสียงดังฟังชัด





วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความเสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล

สรุปบทความทางคณิตศาสตร์



คณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่ตัวเลข
คณิตศาสตร์ ถือเป็นพื้นฐานวิชาหรือพื้นฐานในการเรียนรู้สาระวิชาอื่นๆ ในขั้นสูงต่อไปในอนาคต ซึ่งคุณต้องเข้าใจนะครับว่า ‘คณิตศาสตร์ไม่ใช่ตัวเลข’ แต่คณิตศาสตร์เป็นตรรกะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจัดการปัญหาได้อย่างมีเหตุผล และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม



             จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี
กระบวนการคิด+คณิตวัยอนุบาล
          อย่างเเรกคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ ไม่ใช่เพียงเเค่หาคำตอบที่ถูกที่สุด แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
   - เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข
   - เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก จะตัดสินจากสิ่งที่มองเห็น
   - ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง


ตัวอย่าง วิธีเสริมการเรียนเลข ความรู้คณิตศาสตร์ให้ลูกอนุบาล
กลยุทธ์ :  เรียนรู้จำนวนจากสิ่งของ: การเรียนรู้จากประสาทสัมผัสด้านต่างๆ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ อย่างการนับเลขปากเปล่า เด็กจะสามารถนับได้ แต่ไม่รู้ค่าที่แท้จริงของตัวเลข ดังนั้นคุณจึงต้องให้เขาได้นับจากสิ่งของจริงๆ เขาจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าจำนวนแต่ละตัวมีค่าเท่าไรครับ
Tip : เขียนเลขบนกระดาษแผ่นใหญ่ แล้วนำสิ่งของที่เด็กๆ ชอบ เช่น หุ่นตัวจิ๋ว คุกกี้ กิฟต์ติดผม เป็นต้น มาชวนกันเล่นเกมวางตามจำนวน โดยนำสิ่งของวางลงตามจำนวนในบัตรภาพ