วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย

สรุปวิจัย
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ค้นคว้า : นางนิธิกานต์  ขวัญบุญ







          เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สื่อการจัดประสบการณ์รูปแบบเกมการศึกษาแบบเล่นเป็นรายบุคคล แบบเล่นเป็นกลุ่มที่ใช้ควบคู่กับการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
         เกมการศึกษาเป็นที่น่าสนใจของเด็กเกือบทุกวัย โดยเฉพาะ 3-6 ปี โดยธรรมชาติเเล้วเด็กจะอยู่นิ่งนานๆไม่ได้ไม่ชอบนั่งเรียนเหมือนเด็กวัยอื่น ผู้ใหญ่อาจมองว่าไร้สาระ เเต่จริงๆแล้วการเล่นของเด็กเป็นการพัฒนาการเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเอง ถ้าเด็กได้รับการกระตุ้นฝึกใช้ความคิดในระหว่างการเล่น เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำเเนก การเชื่อมโยงเหตุผลเหมาะสมกับวุฒิภาวะจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกมการศึกษาจะช่วยส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์สัมผัสต่างๆจากนามธรรมเป็นรูปธรรม

ขั้นตอนการสร้างเเผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
1. ศึกษาหลักสูตรและวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
2. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์
3. สร้างแผนประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ 6 ชุด
4. ทำเเผนการจัดประสบการณ์ให้อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญตรวจค่าดัชนีความสอดคล้อง
5. ปรับปรุงเเก้ไขความถูกต้องตามคำเเนะนำ ก่อนนำไปทดลองใช้

****ทดลองใช้เกมการศึกษาแทนค่าจำนวน 1-10กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนวัดดอนไก่ดี สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มเเบน จ.สมุทรสาคร จำนวน 1ห้องเรียน 25คน****

วัตถุประสงค์
           เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

วิธีดำเนินการ
     1. วิเคราะห์จากการสำรวจความต้องการและข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาเป็นเเนวทางสร้างเกมการศึกษา
     2. ดำเนินการสร้างเกมการศึกษาเรื่องการแทนค่าจำนวน 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัยโดยมีองค์ประกอบดั้งนี้ (ชื่อเกม คำชี้เเจง วัตถุประสงค์) เกมการศึกษาประกอบด้วย เกม 6 เกม คือ 1. เกมใจเราตรงกัน   2. เกมเรียงต่อแสนสนุก   3. เกมรักกันนะ   4. เกมพาเหรดตัวเลข   5. เกมทะเลพาเพลิน   6. เกมของใช้อลเวง   จัดทำแผนประสบการณ์เรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญจุดประสงค์  เนื้อหา  กิจกรรม สื่อ การวัดเเละประเมินผล และบันทึกหลังการสอน
     3. นำเกมการศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
     4. นำเกมมาปรับปรุงเเก้ไข

ขั้นดำเนินการทดลอง
     1. ขอหนังสือจากบัณทิตวิทยาลัยถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี
     2. ทำการทดสอบก่อนเรียน กับเด็กชั้นอนุบาล 3 จำนวน 25 คน
     3. ดำเนินการใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการเเทนค่าจำนวน 1-10 โดยใช้ขั้นตอนดังนี้
       ขั้นนำ
            - ชี้เเจงวัตถุประสงค์
            - ชี้เเจงวิธีการเล่นเกมการศึกษาที่นักเรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมอย่างไร
            - แนะนำในสิ่งที่นักเรียนจะได้รับหลังปฏิบัติกิจกรรม
        ขั้นสอน
             - ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ตามกฎกติกาของเกมการศึกษาและขั้นตอนต่างๆที่กำหนดไว้ในแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้
         ขั้นสรุป
              - นักเรียนนำสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมมานำเสนอเพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
     4. หลังจบกิจกรรม ทำการทดสอบโดยใช้ข้อสอบเดียวกับที่ทำในตอนก่อนปฏิบัติกิจกรรม


ผลการประเมิน
            ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน เด็กส่วนใหญ่เห็นว่าเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการเเทนค่าจำนวนนับ 1-10 ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเเต่ละบทมากขึ้น อีกทั้งนักเรียนมีความสุข สนุกสนานเพราะเปิดโอกาสให้ได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดความสนใจ กระตือรือร้น ส่งเสริมความสามัคคีในกลุ่ม รู้จักการเเก้ปัญกา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
     
ข้อเสนอเเนะ
      1. สถานศึกษาควรเผยเเพร่การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ให้ครูในระดับชั้นอื่นๆได้ใช้ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
      2. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยควรนำเกมการศึกษามาบูรณาการกับวิชาอื่นๆในการเรียนรู้

  




ใบงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

......ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์....
วันที่ 2 มีนาคม 2559
เวลา 8.00 - 15.00 น.






>>>การจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรม สื่อการสอน ที่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์<<<




  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร             
             - เอาหินไปใส่ในกล่อง เจาะรูให้เด็กลองเอามือล้วงลงไปจับ แล้วให้บอกลักษณะ หรือ เอาออกมาให้เด็กเห็น แล้วบอกลักษณะ
             - ให้เด็กเเยกประเภทของหิน
             - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาด แล้วนำมาเรียง จากใหญ่ไปหาเล็กหรือจากเล็กไปหาใหญ่
             - จับคู่หินที่เหมือนกัน บอกความเหมือนความต่าง
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
           สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกรูปทรงรูปร่าง บอกขนาด บอกจำนวน บอกความเหมือนความเเตกต่าง และจัดหมวดหมู่ได้






  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร      
             - ให้เด็กบอกความเหมือนความแต่งต่างระหว่างของ 2 สิ่ง

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
          สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกความเหมือนความเเตกต่างระหว่างของ 2 สิ่งได้








  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
            - ให้เด็กตัดปะลงในรูปที่กำหนดมาให้
            - ให้เด็กได้ลงมือฉีกกระดาษเอง แล้วเปรียบเทียบขนาด
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
             สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกขนาด รูปทรง เรียงลำดับ และตำเเหน่งที่จะแปะได้







  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
              - ให้เด็กนับเเละบอกจำนวน
              - ให้เด็กบอกส่วนประกอบต่างๆ
              - ให้เด็กเเยกสี สามารถทำน้ำได้หลากหลายสี
              - เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ น้ำกับเพื่อน
              - เรียงลำดับ น้ำในภาชนะ
              - ให้เด็บอกรูปทรง เมื่อเปลี่ยนน้ำใส่ภาชะอื่น
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
                สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถนับและบอกจำนวนได้ เปรียบเทียบจำนวนน้ำกับจำนวนคนได้  เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ มากกว่า/น้อยกว่า/เท่ากับ เรียงลำดับ บอกส่วนประกอบ เเยกสีแต่ละสี และบอกรูปทรงเมื่อน้ำเปลี่ยนไปอยู่ในภาชนะอื่นได้
***ใช้ในกิจกรรมใดบ้าง***
             สามารถนำมาใช้ร่วมในกิจกรรมทั้ง 6 หลักได้ แล้วเเต่ครูผู้สอนจะจัด และต้องเน้นให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสอดคล้องกับหลักคณิตศาสตร์ให้เด็กควรได้รับการเรียนรู้ครบทั้ง 6 สาระ





>>>การเรียนการสอนเเบบโครงการ Project Approach<<<



ภาพ ผลการอภิปรายกลุ่ม 
ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


 ภาพ แบบสำรวจข้อมูล
และจัดแสดงของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


       การเรียนการสอนแบบโครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม 
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 

ลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ 5 ข้อ  คือ
            1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ได้เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
              3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
              4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สามารถสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น   แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

.....การประเมินผลโครงการ.....
  • แบบประเมิน
  • แสดงความคิดเห็น
  • เสนอแนะ
  • บทสะท้อนตนเอง ของเด็ก ครู ผู้ปกครอง







วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559

เวลา13.30 - 17.30 น.








เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานก่อน
1. นางสาวปฐมพร  จันวิมล นำเสนอบทความเรื่อง คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
2. นางสาวกษมา  แดงฤทธิ์  นำเสนอตัวอย่างการสอน VDO เรื่อง สื่อการสอนเรื่องการบวก
3นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)
            

>>>กิจกรรมต่อมา  ประดิษฐ์แผ่นกระดาษจากกล่องลัง<<< 
       อาจารย์ให้ประดิษฐ์กระดาษ จากล่องลัง ขนาดกว้าง7 นิ้ว ยาว 9 นิ้วเท่าๆกัน 5 อัน ทำเป็น 2 แบบ











ทำออกมาดังรูป แบบที่ 1  และ แบบที่ 2

         สามารถนำมาใช้ประยุกต์สอนให้กับเด็กๆได้ เช่น สอนเรื่องจำนวน สอนเรื่องเปรียบเทียบ เป็นต้น


>>>กิจกรรมต่อมา<<< 
     อาจารย์ให้เเบ่งกลุ่ม แล้วให้คิดหน่วยที่จะสอนเด็ก
กลุ่มที่ 1 มี 5คน  // ทำเรื่อง หน่วยรถ >>  เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ด้าน สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
กลุ่มที่ 2 มี 5คน  // ทำเรื่อง หน่วยเครื่องใช้ไฟฟ้า >>  เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ด้าน  สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก
กลุ่มที่ 3 มี 4 คน  // ทำเรื่อง หน่วยร่างกาย>>   เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ด้าน เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
กลุ่มที่ 4 มี 4คน  // ทำเรื่อง หน่วยบ้าน>>  เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ด้าน เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและ
                                                              สถานที่แวดล้อมเด็ก
กลุ่มที่ 5 มี 3คน  // ทำเรื่อง หน่วยสัตว์>>   เป็นสาระที่ควรเรียนรู้ด้าน ธรรมชาติรอบตัว
แล้วให้เเตกสาระออกไปในการสอนแต่ละวัน หน่วยละ 1 สัปดาห์ในการสอน เช่น
          >>หน่วยรถ สาระที่จะสอนก็จะมี ประเภทรถ // ลักษณะรถ // ประโยชน์ // โทษหรือข้อควรระวัง // การดูแลรักษา เป็นต้น สอนวันละ 1 สาระ


>>>กิจกรรมต่อมา ถาดไข่<<< 
           อาจารย์ถามว่าถาดไข่นี้สามารถนำมาสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไร
- นำมาสอนเรื่องรูปทรง 
- นำมาสอนนับเลข ตัวอย่าง เอาดินสอมาปักทีละช่องให้เด็กได้นับ เพราะเป็นการทบทวนแบบเห็นภาพ นับเสร็จให้นำตัวเลขมากำกับแทนค่าจำนวน สมมุติมีดินสอ 6 แท่ง เด็กนำมาปักถาดไข่แท่งละช่อง เด็กจะรู้ว่า เลข 6 มีค่าความหมายเท่ากับค่าจำนวน 6 แท่ง

*** วิธีการที่ให้เด็กได้รู้จักกับตัวเลขสามารถทำได้หลายวิธี เช่น  การเขียน การปั้นดินน้ำมัน การวาดภาพจากตัวเลข

ทักษะที่ได้รับ
   - ทักษะการคิด                     
   - ทักษะการแก้ปัญหา
   - ทักษะการนับ
   - ทักษะการคาดคะเน

การนำมาประยุกต์ใช้
               สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้  จัดหาวัสดุรอบๆตัวมาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กๆ หรือให้เด็กนำวัสดุเหลือใช้จากรอบๆตัวเด็กเองมาประดิษฐ์ เเละฝึกเล่นจากสิ่งของที่เด็กได้ประดิษฐ์ขึ้นเอง เด็กก็จะได้ประสบการณ์จากการลงมือทำด้วย

บรรยากาศในห้องเรียน
                วันนี้บรรยากาศการเรียนดูครึกครื้น นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม  ช่วยการประดิษฐ์ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างสนุกสนาทำให้ไม่ง่วง ไม่น่าเบื่อ สนุกกับการเรียน

ประเมินวิธีการสอน
              การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด สอนให้ลงมือประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 

คุณธรรมจริยธรรม
    - ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
    - มาเรียนตรงเวลา
    - ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
    - แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
    - ตั้งใจทำงานจนเสร็จตามเวลา

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม มีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนทำงาน 
                  คอยตอบคำถามตลอด
เพื่อน:        ตั้งใจทำงาน ตั้งใจเรียน ช่วยกันทำงานเป็นกลุ่ม 
ครูผู้สอน:   แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา