สรุปวิจัย
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้ค้นคว้า : นางนิธิกานต์ ขวัญบุญ
เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สื่อการจัดประสบการณ์รูปแบบเกมการศึกษาแบบเล่นเป็นรายบุคคล แบบเล่นเป็นกลุ่มที่ใช้ควบคู่กับการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
เกมการศึกษาเป็นที่น่าสนใจของเด็กเกือบทุกวัย โดยเฉพาะ 3-6 ปี โดยธรรมชาติเเล้วเด็กจะอยู่นิ่งนานๆไม่ได้ไม่ชอบนั่งเรียนเหมือนเด็กวัยอื่น ผู้ใหญ่อาจมองว่าไร้สาระ เเต่จริงๆแล้วการเล่นของเด็กเป็นการพัฒนาการเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยตนเอง ถ้าเด็กได้รับการกระตุ้นฝึกใช้ความคิดในระหว่างการเล่น เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ การจำเเนก การเชื่อมโยงเหตุผลเหมาะสมกับวุฒิภาวะจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกมการศึกษาจะช่วยส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์สัมผัสต่างๆจากนามธรรมเป็นรูปธรรม
ขั้นตอนการสร้างเเผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
1. ศึกษาหลักสูตรและวิธีการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา
2. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์
3. สร้างแผนประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ 6 ชุด
4. ทำเเผนการจัดประสบการณ์ให้อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญตรวจค่าดัชนีความสอดคล้อง
5. ปรับปรุงเเก้ไขความถูกต้องตามคำเเนะนำ ก่อนนำไปทดลองใช้
****ทดลองใช้เกมการศึกษาแทนค่าจำนวน 1-10กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนวัดดอนไก่ดี สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มเเบน จ.สมุทรสาคร จำนวน 1ห้องเรียน 25คน****
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแทนค่าจำนวนนับ 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
วิธีดำเนินการ
1. วิเคราะห์จากการสำรวจความต้องการและข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาเป็นเเนวทางสร้างเกมการศึกษา
2. ดำเนินการสร้างเกมการศึกษาเรื่องการแทนค่าจำนวน 1-10 สำหรับเด็กปฐมวัยโดยมีองค์ประกอบดั้งนี้ (ชื่อเกม คำชี้เเจง วัตถุประสงค์) เกมการศึกษาประกอบด้วย เกม 6 เกม คือ 1. เกมใจเราตรงกัน 2. เกมเรียงต่อแสนสนุก 3. เกมรักกันนะ 4. เกมพาเหรดตัวเลข 5. เกมทะเลพาเพลิน 6. เกมของใช้อลเวง จัดทำแผนประสบการณ์เรียนรู้ ประกอบด้วย สาระสำคัญจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม สื่อ การวัดเเละประเมินผล และบันทึกหลังการสอน
3. นำเกมการศึกษาและแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่สร้างขึ้น เสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข
4. นำเกมมาปรับปรุงเเก้ไข
ขั้นดำเนินการทดลอง
1. ขอหนังสือจากบัณทิตวิทยาลัยถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี
2. ทำการทดสอบก่อนเรียน กับเด็กชั้นอนุบาล 3 จำนวน 25 คน
3. ดำเนินการใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการเเทนค่าจำนวน 1-10 โดยใช้ขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ
- ชี้เเจงวัตถุประสงค์
- ชี้เเจงวิธีการเล่นเกมการศึกษาที่นักเรียนต้องปฏิบัติกิจกรรมอย่างไร
- แนะนำในสิ่งที่นักเรียนจะได้รับหลังปฏิบัติกิจกรรม
ขั้นสอน
- ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ตามกฎกติกาของเกมการศึกษาและขั้นตอนต่างๆที่กำหนดไว้ในแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้
ขั้นสรุป
- นักเรียนนำสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมมานำเสนอเพื่อเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
4. หลังจบกิจกรรม ทำการทดสอบโดยใช้ข้อสอบเดียวกับที่ทำในตอนก่อนปฏิบัติกิจกรรม
ผลการประเมิน
ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน เด็กส่วนใหญ่เห็นว่าเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เรื่องการเเทนค่าจำนวนนับ 1-10 ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเเต่ละบทมากขึ้น อีกทั้งนักเรียนมีความสุข สนุกสนานเพราะเปิดโอกาสให้ได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เกิดความสนใจ กระตือรือร้น ส่งเสริมความสามัคคีในกลุ่ม รู้จักการเเก้ปัญกา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ข้อเสนอเเนะ
1. สถานศึกษาควรเผยเเพร่การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ให้ครูในระดับชั้นอื่นๆได้ใช้ และหน่วยงานอื่นๆ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ปฐมวัยขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2. ครูผู้สอนระดับปฐมวัยควรนำเกมการศึกษามาบูรณาการกับวิชาอื่นๆในการเรียนรู้