วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา13.30 - 17.30 น.







ไม่ได้ไปเรียน เนื่องจากต้องเดินทางไปทำธุระกับทางครอบครัว

ที่จังหวัดเชียงราย








วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลา13.30 - 17.30 น.







เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดตารางที่อาจารย์กำหนดมาให้ ตารางเเรก 2เเถว 10ช่อง ตารางที่สอง 3แถว 10 ช่อง จากนั้นอาจารย์ให้ระบายช่องที่เป็น 2 แถว โดยให้โจทย์ว่า ตารางเเรกให้ระบาย 2 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด โจทย์ต่อมาคือ ตารางที่สองให้ระบาย 3 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด 



            จากงานนี้อาจารย์สอนว่า เป็นสิ่งที่นำไปสอนกับเด็กปฐมวัยไม่ได้ ถึงแม้ว่าเด็กได้ลงมือปฏิบัติ แต่งานนี้ไม่ใช่การเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็กไม่ได้ใช้สัมผัสทั้ง 5  เด็กเเค่ได้ลงมือปฏิบัต ลงมือทำเเค่นั้น 
- วิธีการสอน เพื่อให้เชื่อมโยงกับงานนี้ คือให้เล่นบล็อค ให้เด็กลองวางบล็อค แล้วระบายช่องตามรูปร่างของบล็อคที่วาง เด็กได้มีโอกาสลองผิดลองถูก ต้องให้เด็ได้หยิบจับและทดลองได้่ เรียกว่า การสืบเสาะ การหาคำตอบก็จะหาได้หลายวิธีหลายเเบบเกิดจากการนำมาประกอบ


>>>ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน<<<   
1. บทความ เรื่อง หลักการสอน คณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาวภัทรภรณ์ ญาติสังกัด
2. ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาว พรชนก ไตรวงศ์ตุ้ม
3. วิจัย เรื่อง การวัดค่าประเมินและการเปรียบเทียบ นำเสนอโดย นางสาว ศิริวรรณ สุวรรณสาร

>>>ต่อมาอาจารย์ให้ดูวิดีโอการจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach<<<   


            ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดๆ ให้แก่เด็ก ครูจะต้องประเมินพัฒนาการว่าเด็กมีความสามารถ มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด เพราะเด็กเเต่คนมีพัฒนาการที่เเตกต่างกัน ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ทักษะที่ได้รับ
   ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแตกแขนง
    - ทักษะการวิเคราะห์
    - ทักษะการเเก้ปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้
           สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การต่อรูปทรง การเรียงตัวต่อ แล้วนำมาให้เด็กวาดตามรูปร่างที่เด็กต่อได้ เป็นต้น ใช้วิธีการสอนที่ไม่ใช่ให้เด็กลงมือทำอย่างเดียว ต้องให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
          วันนี้บรรยากาศการเรียนดูครึกครื้น นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม มีอาจารย์สอนเร็วจบเร็ว นักศึกษาก็เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนอย่างระเอียด

ประเมินวิธีการสอน
         การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด จำลองสถานการณ์การสอนทำให้นักศึกษาได้คิดเเละนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหางานมานำเสนอ สอนเจาะลึกทุกเนื้อหา

คุณธรรมจริยธรรม
    - ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
    - มาเรียนตรงเวลา
    - ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
    - แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม ตอบคำถามอาจารย์บ่อยครั้ง
เพื่อน:         ช่วยกันตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์
ครูผู้สอน:    แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา









วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.





      
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการอาจารย์แจกป้ายชื่อให้คนละ 1 ใบ เขียนชื่อตัวเอง แล้วไปติดบนกระดาน โดยที่บนกระดานอาจารย์วาดตาราง  เวลาการตื่นนอน จะมี 3 ช่อง คือช่องแรก คนที่ตื่นก่อน 7:00   ช่องที่ 2  ตื่นนอนเวลา  07:00 ช่องที่ 3  ตื่นนอนหลัง 07:00  แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กปฐมวัย เพราะยากเกินไป เด็กยังดูนาฬิกาไม่เป็น ให้ผู้ปกครองจดบันทึกมาให้ตั้งแต่บ้าน แล้วนำมาติด ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
>>>กิจกรรมต่อมา อาจารย์เขียนตัวเลขไว้บน กระดานโดยมีตัวเลขดังนี้<<< 
3525    11    155     350
ให้นักศึกษาทายว่าวเลขที่นักศึกษาเห็นเกี่ยวข้องหรือสำคัญกับอาจารย์อย่างไร 
3225   =  ทะเบียนรถ
11    =    วันเกิด
155    =      ส่วนสูง
350     =  บ้านเลขที่
ให้น.ส.ปรีชญา ออกมาเขียนตัวเลข แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไร
07     110     38     65
07   =  เดือนเกิด
110   =  บ้านเลขที่
38    =    ปีเกิด
65   =  น้ำหนัก

ให้น.ส.กมลชนก ออกมาเขียนตัวเลข แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไร
20     37     138     3204
20   =  เพื่อนในห้อง
37   =  เลขที่เป็นสิริมงคล
138   =  บ้านเลขที่
3204   =  เลขห้องพัก
***ตัวเลขล้วนแต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราที่พบเห็นกันบ่อยๆ***

>>>กิจกรรมต่อมา  อาจารย์เอาสื่อออกมาให้ดู 1 ชิ้น คือปฏิทิน<<< 
อาจารย์ถามว่าถามว่าสื่อที่อาจารย์นำมาในวันนี้เหมาะสมหรือควรแก้ไขในส่วนไหนบ้าง  เช่น  สีที่ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  เพราะว่า เป็นสีสะท้อนแสงและอุปกรณ์ที่ใช้ไม่แข็งแรง ใช้งานได้ไม่ยาวนานนัก สิ่งที่ได้รับจากการใช้ปฏิทิน เด็กได้ประสบการณ์ด้านตัวเลข เพราะนำตัวเลขไปแปะ สามารถลำดับตัวเลขได้  จัดหมวดหมู่สี ถามวันย้อนหลังเด็กจะเรียนรู้เรื่องเวลา บอกวันที่ผ่านมาได้ บอกวันระหว่างได้

>>>เกมการศึกษามีทั้งหมด  8 ประเภท<<< 
1.จับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.วางภาพต่อปลาย
4.การเรียงลำดับ
5.จัดหมวดหมู่
6.เกมศึกษารายละเอียดภาพ
7.พื้นฐานการบวก
8.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
>>>กิจกรรมหลักมีทั้งหมด 6 กิจกรรม<<< 
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เกมการศึกษา

>>>ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน<<<   
1.นางสาววนิดา  สาเมาะ   นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย
2.นางสาวปรีชญา  ชื่นแย้ม  นำเสนอตัวอย่างการสอน VDO เรื่อง ตัวเลขกับเด็กปฐมวัย
3.นางสาวเรณุกา  บุญประเสริฐ  นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
4.นางสาว หทัยชนก  นำเสนอบทความเรื่อง  สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก

>>>ต่อมาอาจารย์บรรยายหัวข้อ " สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย"<<<  
โดยมีทั้งหมด 6 สาระ  ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ 
      สาระที่ 2 : การวัด 
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน 
      สาระที่ 4 : พีชคณิต 
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 

>>>สุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำสเนอของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย<<<  
          ของเล่นที่ฉันเลือกมานำเสนอคือ ตาชั่งสองเเขน เด็กจะได้ทักษะการเปรียบเทียบจากตาชั่ง ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ได้ทักษะการเเก้ปัญหา จากของเล่นนี้

ทักษะที่ได้รับ
   - ทักษะการคิด                     
   - ทักษะการวิเคราะห์
   - ทักษะการนับ
   - ทักษะการจัดหมวดหมู่

การนำมาประยุกต์ใช้
            สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การนับรถที่ใช้มาโรงเรียน การนับจำนวนวันที่มาเรียน ไม่มาเรียน เป็นต้น ปรับการสอนที่ไม่ใช่เพียงเเต่หาคำตอบเพียงอย่างเดียว ต้องให้เด็กใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์  เด็กจะเข้าใจความหมายของจำนวนตัวเลขที่ได้มาด้วยตนเอง เเละเลขที่ได้มานั้นมาจากชีวิตประจำวันทั้งสิ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
          วันนี้บรรยากาศการเรียนดูครึกครื้น นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม มีการขยับร่างการอยู่ตลอดเวลา ออกมาทำกิจกรรมบ้าง นำเสนอบ้าง ทำให้ไม่น่าเบื่อ

ประเมินวิธีการสอน
         การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด จำลองสถานการณ์การสอนทำให้นักศึกษาได้คิดเเละนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหางานมานำเสนอ สอนเจาะลึกทุกเนื้อหา

คุณธรรมจริยธรรม
    - ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
    - มาเรียนตรงเวลา
    - ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
    - แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม มีง่วงนอนบ้างเล็กน้อย 
เพื่อน:         ช่วยกันตอบคำถาม 
ครูผู้สอน:   แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา







วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2559
เวลา 13.30-17.30 น.







เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
                อาจารย์แแจกกระดาษให้นักศึกษาเขียนชื่อแล้วนำไปแปะช่องที่อาจารย์วาดขึ้นมา 2 ช่องคือช่องมากับไม่มา ให้เรานำชื่อของเราไปแปะในช่องที่เขียนว่ามา ส่วนคนที่ไม่มาให้เพื่อนเขียนชื่อไปแปะไว้ที่ช่องไม่มา เป็นการจำลองสถานการณ์ จากช่องที่เเปะชื่อลงไปเด็กได้อะไรจากคณิตศาสตร์
- การนับจำนวน ให้เด็กนับเพิ่มขึ้นทีละ 1 เช่น 1+1เป็น2  2+1เป็น3  3+1เป็น4 เป็นต้น ครูต้องคอยชี้ทางให้เด็กด้วย มีการนับบอกจำนวนและเขียนเลขฮินดูอารบิก ถ้าเด็ก 3 ขวบยังเขียนไม่ได้ ครูเองที่จะต้องเป็นคนเขียนให้ดู หากเด็กโตขึ้นมาอีกยังเขียนไม่ได้ ต้องทำสื่อเเผ่นภาพมาติด เด็กโตขึ้นมาอีกสามารถเขียนเส้นปะหรือฟรีแฮนด์ตามลำดับ
- การเปรียบเทียบ ดูจากตาเห็นไปสู่นามธรรม โดยใช้การเอาออกทีละ 1 ทั้งสองช่อง ช่องที่ไม่มาหมดก่อน แต่ช่องมายังเหลือกระดาษอยู่ แสดงว่า มีนักเรียนมามากกว่านักเรียนไม่มาหรือมีนักเรียนไม่มาน้อยกว่านักเรียนที่มา
- การเรียงลำดับ เด็กจะได้รู้ลำดับใครมาก่อนมาหลัง หรือใครที่ไม่มา ตามลำดับ
- การเเบ่งกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่ม เด็กคนไหนมาก็เเปะในช่องกลุ่มของตนเอง เด็กจะนับจำนวนเพื่อนในกลุ่มมากี่คนไม่มากี่คน
***ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมบูรณาการณ์จากชีวิตประจำวัน***


>>>กิจกรรมต่อมาเป็นการนำเสนองานตามหัวข้อที่ตนเองได้รับมอบหมายไว้<<< 
       เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       เลขที่ 2 นำเสนอวีดีโอตัวอย่างการสอน เรื่อง เจ้าแกะจอมฉลาด
       เลขที่ 4 นำเสนอบทความเรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์


>>>เข้าสู่บทเรียน<<< 

   1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Thinking)
- จำนวนนับ 1 ถึง 20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
- รู้ค่าของจำนวน
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ
- การรวมและการเเยกกลุ่ม
  2. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน แและเวลา
- เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
- เข้าใจเกี่ยวกับเวลาเเละคำที่ใช้บอกช่วงเวลา
  3. มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
- ตำเเหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ 

>>>ร้องเพลงที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์<<< 



การเรียงลำดับ









ทิศทาง




ปฏิทิน




ระดับ




ลำดับ



ทักษะที่ได้รับ
   - ทักษะการนับและบอกจำนวนได้
   - ทักษะความเข้าใจ
   - ทักษะกระบวนการคิด
   - ทักษะการเขียนตัวเลขฮินดูอารบิกและเลขไทย

การนำมาประยุกต์ใช้
            สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การนับหญิงชาย การนับจำนวนเด็กที่มาเเละไม่มาโรงเรียน เป็นต้น ปรับการสอนที่ไม่ใช่เพียงเเต่หาคำตอบเพียงอย่างเดียว ต้องให้เด็กใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์  เด็กจะเข้าใจความหมายของจำนวนตัวเลขที่ได้มาด้วยตนเอง 

บรรยากาศในห้องเรียน
           ดูไม่ค่อยครึกครื้นเท่าไหร่ เพื่อนๆง่วงนอน เเต่ก็ร่วมทำกิจกรรมร้องเพลง ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินวิธีการสอน
            การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด จำลองสถานการณ์การสอนทำให้นักศึกษาได้คิดเเละนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง กระตุ้นความง่วงของนักศึกษาด้วยการให้ร้องเพลง เเละให้คิดไปด้วยว่าเพลงที่ร้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร เจาะลึกทุกเนื้อหาที่สอน 

คุณธรรมจริยธรรม
    - ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
    - มาเรียนตรงเวลา
    - ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
    - แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม มีง่วงนอนบ้างเล็กน้อย 
เพื่อน:         ช่วยกันตอบคำถาม ดูง่วงนอนเรียนเเบบคนไม่ค่อยมีสติ
ครูผู้สอน:   แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา