วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เริ่มการเรียนการสอนโดยการอาจารย์แจกป้ายชื่อให้คนละ 1 ใบ เขียนชื่อตัวเอง แล้วไปติดบนกระดาน โดยที่บนกระดานอาจารย์วาดตาราง เวลาการตื่นนอน จะมี 3 ช่อง คือช่องแรก คนที่ตื่นก่อน 7:00 ช่องที่ 2 ตื่นนอนเวลา 07:00 ช่องที่ 3 ตื่นนอนหลัง 07:00 แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กปฐมวัย เพราะยากเกินไป เด็กยังดูนาฬิกาไม่เป็น ให้ผู้ปกครองจดบันทึกมาให้ตั้งแต่บ้าน แล้วนำมาติด ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
>>>กิจกรรมต่อมา อาจารย์เขียนตัวเลขไว้บน กระดานโดยมีตัวเลขดังนี้<<<
3525 11 155 350
ให้นักศึกษาทายว่าวเลขที่นักศึกษาเห็นเกี่ยวข้องหรือสำคัญกับอาจารย์อย่างไร
3225 = ทะเบียนรถ
11 = วันเกิด
155 = ส่วนสูง
350 = บ้านเลขที่
ให้น.ส.ปรีชญา ออกมาเขียนตัวเลข แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไร
07 110 38 65
07 = เดือนเกิด
110 = บ้านเลขที่
38 = ปีเกิด
65 = น้ำหนัก
ให้น.ส.กมลชนก ออกมาเขียนตัวเลข แล้วให้เพื่อนๆทายว่า ตัวเลขข้างต้นเกี่ยวข้องหรือสำคัญอย่างไร
20 37 138 3204
20 = เพื่อนในห้อง
37 = เลขที่เป็นสิริมงคล
138 = บ้านเลขที่
3204 = เลขห้องพัก
***ตัวเลขล้วนแต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเราที่พบเห็นกันบ่อยๆ***
>>>กิจกรรมต่อมา อาจารย์เอาสื่อออกมาให้ดู 1 ชิ้น คือปฏิทิน<<<
อาจารย์ถามว่าถามว่าสื่อที่อาจารย์นำมาในวันนี้เหมาะสมหรือควรแก้ไขในส่วนไหนบ้าง เช่น สีที่ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพราะว่า เป็นสีสะท้อนแสงและอุปกรณ์ที่ใช้ไม่แข็งแรง ใช้งานได้ไม่ยาวนานนัก สิ่งที่ได้รับจากการใช้ปฏิทิน เด็กได้ประสบการณ์ด้านตัวเลข เพราะนำตัวเลขไปแปะ สามารถลำดับตัวเลขได้ จัดหมวดหมู่สี ถามวันย้อนหลังเด็กจะเรียนรู้เรื่องเวลา บอกวันที่ผ่านมาได้ บอกวันระหว่างได้
>>>เกมการศึกษามีทั้งหมด 8 ประเภท<<<
1.จับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.วางภาพต่อปลาย
4.การเรียงลำดับ
5.จัดหมวดหมู่
6.เกมศึกษารายละเอียดภาพ
7.พื้นฐานการบวก
8.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์
>>>กิจกรรมหลักมีทั้งหมด 6 กิจกรรม<<<
1.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
2.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมกลางแจ้ง
6.เกมการศึกษา
>>>ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน<<<
1.นางสาววนิดา สาเมาะ นำเสนอวิจัย เรื่อง การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านของไทย
2.นางสาวปรีชญา ชื่นแย้ม นำเสนอตัวอย่างการสอน VDO เรื่อง ตัวเลขกับเด็กปฐมวัย
3.นางสาวเรณุกา บุญประเสริฐ นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
4.นางสาว หทัยชนก นำเสนอบทความเรื่อง สอนคณิตศาสตร์อย่างไรให้สนุก
>>>ต่อมาอาจารย์บรรยายหัวข้อ " สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย"<<<
โดยมีทั้งหมด 6 สาระ ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
สาระที่ 2 : การวัด
สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน
สาระที่ 4 : พีชคณิต
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
>>>สุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำสเนอของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย<<<
ของเล่นที่ฉันเลือกมานำเสนอคือ ตาชั่งสองเเขน เด็กจะได้ทักษะการเปรียบเทียบจากตาชั่ง ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ได้ทักษะการเเก้ปัญหา จากของเล่นนี้
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการคิด
- ทักษะการวิเคราะห์
- ทักษะการนับ
- ทักษะการจัดหมวดหมู่
การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การนับรถที่ใช้มาโรงเรียน การนับจำนวนวันที่มาเรียน ไม่มาเรียน เป็นต้น ปรับการสอนที่ไม่ใช่เพียงเเต่หาคำตอบเพียงอย่างเดียว ต้องให้เด็กใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ เด็กจะเข้าใจความหมายของจำนวนตัวเลขที่ได้มาด้วยตนเอง เเละเลขที่ได้มานั้นมาจากชีวิตประจำวันทั้งสิ้น
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้บรรยากาศการเรียนดูครึกครื้น นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม มีการขยับร่างการอยู่ตลอดเวลา ออกมาทำกิจกรรมบ้าง นำเสนอบ้าง ทำให้ไม่น่าเบื่อ
ประเมินวิธีการสอน
การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด จำลองสถานการณ์การสอนทำให้นักศึกษาได้คิดเเละนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหางานมานำเสนอ สอนเจาะลึกทุกเนื้อหา
คุณธรรมจริยธรรม
- ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
- มาเรียนตรงเวลา
- ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
- แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ
การประเมิน
ตนเอง: ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม มีง่วงนอนบ้างเล็กน้อย
เพื่อน: ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน: แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น